กศน.ตำบลเชียงกลาง
บ้านเจดีย์ หมู่ที่ 3 อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมประเพณีภาคเหนือ
ภาคเหนือ หรือล้านนา ดินแดนแห่งความหลากหลายทางประเพณีและวัฒนธรรมที่มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าภาคอื่นของไทย เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเสน่ห์มนต์ขลัง ชวนให้น่าขึ้นไปสัมผัสความงดงามเหล่านี้ยิ่งนัก ส่วนบรรดานักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชม ต่างก็ประทับใจกับสถานที่ท่องเที่ยวมากมายและน้ำใจอันล้นเหลือของชาวเหนือ ดังนั้น ใครที่ยังไม่มีโอกาสได้ไปเยือนซักครั้งคงต้องไปแล้วล่ะค่ะ ว่าแล้วเราก็ขอนำประวัติเล็ก ๆ น้อย ๆ พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีของภาคเหนือมาฝากกัน เผื่อเป็นไกด์ให้เพื่อน ๆ ได้ศึกษาหาข้อมูลก่อนจะเดินทางไปเยือนเมืองเหนือยังไงล่ะ
สำหรับภาคเหนือของไทย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเขตภูเขาสลับพื้นที่ราบระหว่างภูเขา ซึ่งผู้คนอาศัยอย่างกระจายตัวแบ่งกันเป็นกลุ่ม อาจเรียกว่า กลุ่มวัฒนธรรมล้านนา โดยจะมีวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมเก่าแก่เป็นของตนเองมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่องค์ประกอบที่สำคัญก็ยังมีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก อาทิ สำเนียงการพูด การขับร้อง ฟ้อนรำ การดำรงชีวิตแบบเกษตรกร การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณของบรรพบุรุษ ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทการแสดงออกของความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์โดยผ่านภาษาวรรณกรรม ดนตรี และงานฝีมือแม้กระทั่งการจัดงานฉลองสถานที่สำคัญที่มีมาแต่โบราณ เดิมวัฒนธรรมคนเมืองหรือคนล้านนา มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ตามชื่อของอาณาจักรที่มีการปกครองแบบนครรัฐที่ตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 โดยพญาเม็งราย
เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่ของภาคเหนือเป็นภูขาสูงสลับกับแอ่งหุบเขา ทำให้ในฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด ในฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง เพราะอยู่ห่างไกลจากทะเล มีป่าไม้มากจึงถือเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน มีพื้นที่รวมทั้งหมด 93,690.85 ตารางกิโลเมตร และเมื่อเทียบขนาดภาคเหนือจะมีพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศฮังการีมากที่สุด แต่จะมีขนาดเล็กกว่าประเทศเกาหลีใต้เล็กน้อย
ทั้งนี้ ภาคเหนือมีทั้งสิ้น 17 จังหวัด แบ่งออกเป็น ภาคเหนือตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง ดังนี้
ภาคเหนือ ตอนบน มีทั้งหมด 9 จังหวัด ได้แก่
1. จังหวัดเชียงราย
2. จังหวัดเชียงใหม่
3. จังหวัดน่าน
4. จังหวัดพะเยา
5. จังหวัดแพร่
6. จังหวัดแม่ฮ่องสอน
7. จังหวัดลำปาง
8. จังหวัดลำพูน
9. จังหวัดอุตรดิตถ์
ภาคเหนือ ตอนล่าง มีทั้งหมด 8 จังหวัด ได้แก่
1. จังหวัดตาก
2. จังหวัดพิษณุโลก
3. จังหวัดสุโขทัย
4. จังหวัดเพชรบูรณ์
5. จังหวัดพิจิตร
6. จังหวัดกำแพงเพชร
7. จังหวัดนครสวรรค์
8. จังหวัดอุทัยธานี
วัฒนธรรมในท้องถิ่นของภาคเหนือ แบ่งออกได้ดังนี้
วัฒนธรรมทางภาษาถิ่น
ชาวไทยทางภาคเหนือมีภาษาล้านนาที่นุ่มนวลไพเราะ ซึ่งมีภาษาพูดและภาษาเขียนที่เรียกว่า "คำเมือง" ของภาคเหนือเอง โดยการพูดจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ ปัจจุบันยังคงใช้พูดติดต่อสื่อสารกัน
วัฒนธรรมการแต่งกาย
การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชนคนเมือง เนื่องจากผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งบ่งบอกเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นถิ่น
สำหรับภาคเหนือของไทย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเขตภูเขาสลับพื้นที่ราบระหว่างภูเขา ซึ่งผู้คนอาศัยอย่างกระจายตัวแบ่งกันเป็นกลุ่ม อาจเรียกว่า กลุ่มวัฒนธรรมล้านนา โดยจะมีวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมเก่าแก่เป็นของตนเองมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่องค์ประกอบที่สำคัญก็ยังมีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก อาทิ สำเนียงการพูด การขับร้อง ฟ้อนรำ การดำรงชีวิตแบบเกษตรกร การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณของบรรพบุรุษ ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทการแสดงออกของความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์โดยผ่านภาษาวรรณกรรม ดนตรี และงานฝีมือแม้กระทั่งการจัดงานฉลองสถานที่สำคัญที่มีมาแต่โบราณ เดิมวัฒนธรรมคนเมืองหรือคนล้านนา มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ตามชื่อของอาณาจักรที่มีการปกครองแบบนครรัฐที่ตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 โดยพญาเม็งราย
เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่ของภาคเหนือเป็นภูขาสูงสลับกับแอ่งหุบเขา ทำให้ในฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด ในฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง เพราะอยู่ห่างไกลจากทะเล มีป่าไม้มากจึงถือเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน มีพื้นที่รวมทั้งหมด 93,690.85 ตารางกิโลเมตร และเมื่อเทียบขนาดภาคเหนือจะมีพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศฮังการีมากที่สุด แต่จะมีขนาดเล็กกว่าประเทศเกาหลีใต้เล็กน้อย
ทั้งนี้ ภาคเหนือมีทั้งสิ้น 17 จังหวัด แบ่งออกเป็น ภาคเหนือตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง ดังนี้
ภาคเหนือ ตอนบน มีทั้งหมด 9 จังหวัด ได้แก่
1. จังหวัดเชียงราย
2. จังหวัดเชียงใหม่
3. จังหวัดน่าน
4. จังหวัดพะเยา
5. จังหวัดแพร่
6. จังหวัดแม่ฮ่องสอน
7. จังหวัดลำปาง
8. จังหวัดลำพูน
9. จังหวัดอุตรดิตถ์
ภาคเหนือ ตอนล่าง มีทั้งหมด 8 จังหวัด ได้แก่
1. จังหวัดตาก
2. จังหวัดพิษณุโลก
3. จังหวัดสุโขทัย
4. จังหวัดเพชรบูรณ์
5. จังหวัดพิจิตร
6. จังหวัดกำแพงเพชร
7. จังหวัดนครสวรรค์
8. จังหวัดอุทัยธานี
วัฒนธรรมในท้องถิ่นของภาคเหนือ แบ่งออกได้ดังนี้
วัฒนธรรมทางภาษาถิ่น
ชาวไทยทางภาคเหนือมีภาษาล้านนาที่นุ่มนวลไพเราะ ซึ่งมีภาษาพูดและภาษาเขียนที่เรียกว่า "คำเมือง" ของภาคเหนือเอง โดยการพูดจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ ปัจจุบันยังคงใช้พูดติดต่อสื่อสารกัน
วัฒนธรรมการแต่งกาย
การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชนคนเมือง เนื่องจากผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งบ่งบอกเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นถิ่น
สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น หรือผ้าถุง มีความยาวเกือบถึงตาตุ่ม ซึ่งนิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงาม อาจห่มสไบทับ และเกล้าผม
ส่วนผู้ชายนิยมนุ่งนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า "เตี่ยว" "เตี่ยวสะดอ" หรือ "เตี่ยวกี" ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ และสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลมแขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ ที่เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน หรือคอจีนแขนยาว อาจมีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่า และมีผ้าโพกศีรษะ
ชาวบ้านบางแห่งสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกง สามส่วน และมีผ้าคาดเอว เครื่องประดับมักจะเป็นเครื่องเงินและเครื่องทอง
ผ้าพื้นเมืองของภาคเหนือ
ผ้าฝ้ายลายปลาเสือตอ จังหวัดนครสวรรค์
ผ้าไหมลายเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
ผ้าพื้นเมืองเชียงแสน ลายดอกขอเครือ (เกี่ยวขอ) จังหวัดเชียงราย
ผ้าตีนจก ลายเชียงแสน หงส์บี้ จังหวัดเชียงใหม่
ผ้าฝ้ายลายดอกปีกค้างคาว จังหวัดตาก
ผ้าไหมลายน้ำไหล จังหวัดน่าน
ผ้าฝ้ายลายนกกระจิบ จังหวัดพิจิตร
ผ้าฝ้ายมัดหมี่ลายดอกบีบ จังหวัดพิษณุโลก
ผ้าหม้อห้อม จังหวัดแพร่
วัฒนธรรมการกิน
ชาวเหนือมีวัฒนธรรมการกินคล้ายกับคนอีสาน คือ กินข้าวเหนียวและปลาร้า ซึ่งภาษาเหนือเรียกว่า ข้าวนิ่งและฮ้า ส่วนกรรมวิธีการปรุงอาหารของภาคเหนือจะนิยมการต้ม ปิ้ง แกง หมก ไม่นิยมใช้น้ำมัน ส่วนอาหารขึ้นชื่อเรียกว่าถ้าได้ไปเที่ยวต้องไปลิ้มลอง ได้แก่ น้ำพริกหนุ่ม, น้ำพริกอ่อง, น้ำพริกน้ำปู, ไส้อั่ว, แกงโฮะ, แกงฮังเล, แคบหมู, ผักกาดจอ ลาบหมู, ลาบเนื้อ, จิ้นส้ม (แหนม), ข้าวซอย, ขนมจีนน้ำเงี้ยว เป็นต้น
ชาวบ้านบางแห่งสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกง สามส่วน และมีผ้าคาดเอว เครื่องประดับมักจะเป็นเครื่องเงินและเครื่องทอง
ผ้าพื้นเมืองของภาคเหนือ
ผ้าฝ้ายลายปลาเสือตอ จังหวัดนครสวรรค์
ผ้าไหมลายเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
ผ้าพื้นเมืองเชียงแสน ลายดอกขอเครือ (เกี่ยวขอ) จังหวัดเชียงราย
ผ้าตีนจก ลายเชียงแสน หงส์บี้ จังหวัดเชียงใหม่
ผ้าฝ้ายลายดอกปีกค้างคาว จังหวัดตาก
ผ้าไหมลายน้ำไหล จังหวัดน่าน
ผ้าฝ้ายลายนกกระจิบ จังหวัดพิจิตร
ผ้าฝ้ายมัดหมี่ลายดอกบีบ จังหวัดพิษณุโลก
ผ้าหม้อห้อม จังหวัดแพร่
วัฒนธรรมการกิน
ชาวเหนือมีวัฒนธรรมการกินคล้ายกับคนอีสาน คือ กินข้าวเหนียวและปลาร้า ซึ่งภาษาเหนือเรียกว่า ข้าวนิ่งและฮ้า ส่วนกรรมวิธีการปรุงอาหารของภาคเหนือจะนิยมการต้ม ปิ้ง แกง หมก ไม่นิยมใช้น้ำมัน ส่วนอาหารขึ้นชื่อเรียกว่าถ้าได้ไปเที่ยวต้องไปลิ้มลอง ได้แก่ น้ำพริกหนุ่ม, น้ำพริกอ่อง, น้ำพริกน้ำปู, ไส้อั่ว, แกงโฮะ, แกงฮังเล, แคบหมู, ผักกาดจอ ลาบหมู, ลาบเนื้อ, จิ้นส้ม (แหนม), ข้าวซอย, ขนมจีนน้ำเงี้ยว เป็นต้น
นอกจากนี้ ชาวเหนือชอบกินหมากและอมเมี่ยง โดยนำใบเมียงที่เป็นส่วนใบอ่อนมาหมักให้มีรสเปรี้ยวอมฝาด เมื่อหมักได้ระยะเวลาที่ต้องการ จะนำใบเมี่ยงมาผสมเกลือเม็ด หรือน้ำตาล แล้วแต่ความชอบ ซึ่งนอกจากการอมเมี่ยงแล้ว คนล้านนาโบราณมีความนิยมสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วยมวนหนึ่งขนาดเท่านิ้วมือ และยาวเกือบคืบ ชาวบ้านเรียกจะเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า ขี้โย หรือ บุหรี่ขี้โย ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น เพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น
วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา-ความเชื่อ
ชาวล้านนามีความผูกพันอยู่กับการนับถือผีซึ่งเชื่อว่ามีสิ่งเร้าลับให้ความคุ้มครองรักษาอยู่ ซึ่งสามารถพบเห็นได้จากการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อเวลาที่ต้องเข้าป่าหรือต้องค้างพักแรมอยู่ในป่า จะนิยมบอกกล่าวและขออนุญาตเจ้าที่-เจ้าทางอยู่เสมอ และเมื่อเวลาที่กินข้าวในป่าจะแบ่งอาหารบางส่วนให้เจ้าที่อีกด้วย เช่นกัน ซึ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าวิถีชีวิตที่ยังคงผูกผันอยู่กับการนับถือผีสาง แบ่งประเภท ได้ดังนี้
ผีบรรพบุรุษ มีหน้าที่คุ้มครองเครือญาติและครอบครัว
ผีอารักษ์ หรือผีเจ้าที่เจ้าทาง มีหน้าที่คุ้มครองบ้านเมืองและชุมชน
ผีขุนน้ำ มีหน้าที่ให้น้ำแก่ไร่นา
ผีฝาย มีหน้าที่คุ้มครองเมืองฝาย
ผีสบน้ำ หรือผีปากน้ำ มีหน้าที่คุ้มครองบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน
ผีวิญญาณประจำข้าว เรียกว่า เจ้าแม่โพสพ
ผีวิญญาณประจำแผ่นดิน เรียกว่า เจ้าแม่ธรณี
ทั้งนี้ ชาวล้านนาจะมีการเลี้ยงผีบรรพบุรุษ ในช่วงระหว่างเดือน 4 เหนือเป็ง (มกราคม) จนถึง 8 เหนือ (พฤษภาคม) เช่น ที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จะมีการเลี้ยงผีเสื้อบ้านเสื้อเมือง ซึ่งเป็นผีบรรพ บุรุษของชาวไทลื้อ พอหลังจากนี้อีกไม่นานก็จะมีการเลี้ยงผีลัวะ หรือประเพณีบูชาเสาอินทขิล ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ของคนเมือง ไม่นับรวมถึงการ เลี้ยงผีมด ผีเม็ง และการเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะของ ชาวลั๊วะ ซึ่งจะทยอยทำกันต่อจากนี้
ส่วนช่วงกลางฤดูร้อนจะมีการลงเจ้าเข้าทรงตามหมู่บ้านต่าง ๆ อาจเป็นเพราะความเชื่อที่ว่าการลงเจ้าเป็นการพบปะพูดคุยกับผีบรรพบุรุษ ซึ่งในปีหนึ่งจะมีการลงเจ้าหนึ่งครั้ง และจะถือโอกาสทำพิธีรดน้ำดำหัวผีบรรพบุรุษไปด้วย ยังมีพิธีเลี้ยง "ผีมดผีเม็ง" ที่จัดขึ้นครั้งเดียวในหนึ่งปี โดยจะต้องหาฤกษ์ยามที่เหมาะสม ก่อนวันเข้าพรรษา จะทำพิธีอัญเชิญผีเม็งมาลง เพื่อขอใช้ช่วยปกปักษ์รักษา คุ้มครองชาวบ้านที่เจ็บป่วย และจัดหาดนตรีเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน
อย่างไรก็ตาม คนล้านนามีความเชื่อในการเลี้ยงผีเป็นพิธีกรรมที่สำคัญ แม้ว่าการดำเนินชีวิตของจะราบรื่นไม่ประสบปัญหาใด แต่ก็ยังไม่ลืมบรรพบุรุษที่เคยช่วยเหลือให้มีชีวิตที่ปกติสุขมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ยังคงพบเรือน เล็กๆ หลังเก่าตั้งอยู่กลางหมู่บ้านเสมอ หรือเรียกว่า "หอเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน" เมื่อเวลาเดินทางไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ ในชนบท ความเชื่อดังกล่าวจึงส่งผลให้ขนบธรรมเนียม ประเพณี และพิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวเหนือ เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเหนือ (พ่ออุ๊ย-แม่อุ๊ย) เมื่อไปวัดฟัง ธรรมก็จะประกอบพิธีเลี้ยงผี คือ จัดหาอาหารคาว-หวานเซ่น สังเวยผีปู่ย่าด้วย แม้ปัจจุบันในเขตตัวเมืองของภาคเหนือจะมีการนับถือผีที่อาจเปลี่ยนแปลงและเหลือน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามชาวบ้านในชนบทยังคงมีการปฏิบัติกันอยู่
ประเพณีของภาคเหนือ
ประเพณีของภาคเหนือ เกิดจากการผสมผสานการดำเนินชีวิต และศาสนาพุทธความเชื่อเรื่องการนับถือผี ส่งผลทำให้มีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของประเพณีที่จะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล ทั้งนี้ ภาคเหนือจะมีงานประเพณีในรอบปีแทบทุกเดือน จึงขอยกตัวอย่างประเพณีภาคเหนือบางส่วนมานำเสนอ ดังนี้
สงกรานต์งานประเพณี ถือเป็นช่วงแรกของการเริ่มต้นปี๋ใหม่เมือง หรือสงกรานต์งานประเพณี โดยแบ่งออกเป็น
วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา-ความเชื่อ
ชาวล้านนามีความผูกพันอยู่กับการนับถือผีซึ่งเชื่อว่ามีสิ่งเร้าลับให้ความคุ้มครองรักษาอยู่ ซึ่งสามารถพบเห็นได้จากการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อเวลาที่ต้องเข้าป่าหรือต้องค้างพักแรมอยู่ในป่า จะนิยมบอกกล่าวและขออนุญาตเจ้าที่-เจ้าทางอยู่เสมอ และเมื่อเวลาที่กินข้าวในป่าจะแบ่งอาหารบางส่วนให้เจ้าที่อีกด้วย เช่นกัน ซึ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าวิถีชีวิตที่ยังคงผูกผันอยู่กับการนับถือผีสาง แบ่งประเภท ได้ดังนี้
ผีบรรพบุรุษ มีหน้าที่คุ้มครองเครือญาติและครอบครัว
ผีอารักษ์ หรือผีเจ้าที่เจ้าทาง มีหน้าที่คุ้มครองบ้านเมืองและชุมชน
ผีขุนน้ำ มีหน้าที่ให้น้ำแก่ไร่นา
ผีฝาย มีหน้าที่คุ้มครองเมืองฝาย
ผีสบน้ำ หรือผีปากน้ำ มีหน้าที่คุ้มครองบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน
ผีวิญญาณประจำข้าว เรียกว่า เจ้าแม่โพสพ
ผีวิญญาณประจำแผ่นดิน เรียกว่า เจ้าแม่ธรณี
ทั้งนี้ ชาวล้านนาจะมีการเลี้ยงผีบรรพบุรุษ ในช่วงระหว่างเดือน 4 เหนือเป็ง (มกราคม) จนถึง 8 เหนือ (พฤษภาคม) เช่น ที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จะมีการเลี้ยงผีเสื้อบ้านเสื้อเมือง ซึ่งเป็นผีบรรพ บุรุษของชาวไทลื้อ พอหลังจากนี้อีกไม่นานก็จะมีการเลี้ยงผีลัวะ หรือประเพณีบูชาเสาอินทขิล ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ของคนเมือง ไม่นับรวมถึงการ เลี้ยงผีมด ผีเม็ง และการเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะของ ชาวลั๊วะ ซึ่งจะทยอยทำกันต่อจากนี้
ส่วนช่วงกลางฤดูร้อนจะมีการลงเจ้าเข้าทรงตามหมู่บ้านต่าง ๆ อาจเป็นเพราะความเชื่อที่ว่าการลงเจ้าเป็นการพบปะพูดคุยกับผีบรรพบุรุษ ซึ่งในปีหนึ่งจะมีการลงเจ้าหนึ่งครั้ง และจะถือโอกาสทำพิธีรดน้ำดำหัวผีบรรพบุรุษไปด้วย ยังมีพิธีเลี้ยง "ผีมดผีเม็ง" ที่จัดขึ้นครั้งเดียวในหนึ่งปี โดยจะต้องหาฤกษ์ยามที่เหมาะสม ก่อนวันเข้าพรรษา จะทำพิธีอัญเชิญผีเม็งมาลง เพื่อขอใช้ช่วยปกปักษ์รักษา คุ้มครองชาวบ้านที่เจ็บป่วย และจัดหาดนตรีเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน
อย่างไรก็ตาม คนล้านนามีความเชื่อในการเลี้ยงผีเป็นพิธีกรรมที่สำคัญ แม้ว่าการดำเนินชีวิตของจะราบรื่นไม่ประสบปัญหาใด แต่ก็ยังไม่ลืมบรรพบุรุษที่เคยช่วยเหลือให้มีชีวิตที่ปกติสุขมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ยังคงพบเรือน เล็กๆ หลังเก่าตั้งอยู่กลางหมู่บ้านเสมอ หรือเรียกว่า "หอเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน" เมื่อเวลาเดินทางไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ ในชนบท ความเชื่อดังกล่าวจึงส่งผลให้ขนบธรรมเนียม ประเพณี และพิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวเหนือ เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเหนือ (พ่ออุ๊ย-แม่อุ๊ย) เมื่อไปวัดฟัง ธรรมก็จะประกอบพิธีเลี้ยงผี คือ จัดหาอาหารคาว-หวานเซ่น สังเวยผีปู่ย่าด้วย แม้ปัจจุบันในเขตตัวเมืองของภาคเหนือจะมีการนับถือผีที่อาจเปลี่ยนแปลงและเหลือน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามชาวบ้านในชนบทยังคงมีการปฏิบัติกันอยู่
ประเพณีของภาคเหนือ
ประเพณีของภาคเหนือ เกิดจากการผสมผสานการดำเนินชีวิต และศาสนาพุทธความเชื่อเรื่องการนับถือผี ส่งผลทำให้มีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของประเพณีที่จะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล ทั้งนี้ ภาคเหนือจะมีงานประเพณีในรอบปีแทบทุกเดือน จึงขอยกตัวอย่างประเพณีภาคเหนือบางส่วนมานำเสนอ ดังนี้
สงกรานต์งานประเพณี ถือเป็นช่วงแรกของการเริ่มต้นปี๋ใหม่เมือง หรือสงกรานต์งานประเพณี โดยแบ่งออกเป็น
วันที่ 13 เมษายน หรือวันสังขารล่อง ถือเป็นวันสิ้นสุดของปี โดยจะมีการยิงปืน ยิงสโพก และจุดประทัดตั้งแต่ก่อนสว่างเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดี วันนี้ต้องเก็บกวาดบ้านเรือน และ ทำความสะอาดวัด
วันที่ 14 เมษายน หรือวันเนา ตอนเช้าจะมีการจัดเตรียมอาหาร และเครื่องไทยทาน สำหรับงานบุญในวันรุ่งขึ้น ตอนบ่ายจะไปขนทรายจากแม่น้ำเพื่อนำไปก่อเจดีย์ทรายในวัด เป็นการทดแทนทรายที่เหยียบติดเท้าออกจากวัดตลอดทั้งปี
วันที่ 15 เมษายน หรือวันพญาวัน เป็นวันเริ่มศักราชใหม่ มีการทำบุญถวายขันข้าว ถวายตุง ไม้ค้ำโพธิ์ที่วัดสรงน้ำพระพุทธรูป พระธาตุและรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
วันที่ 16-17 เมษายน หรือวันปากปีและวันปากเดือน เป็นวันทำพิธีทางไสยศาสตร์ สะเดาะเคราะห์ และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ ชาวล้านนามีความเชื่อว่า การทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตน เอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองให้ยืนยาว ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นสิริมงคล โดยแบ่งการสืบชะตาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การสืบชะตาคน, การสืบชะตาบ้าน และการสืบชะตาเมือง
แห่นางแมว ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม เป็นช่วงของการเพาะปลูก หากปีใดฝนแล้งไม่มีน้ำ จะทำให้นาข้าวเสียหาย ชาวบ้านจึงพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ทำพิธีขอฝนโดยการแห่นางแมว โดยมีความเชื่อกันว่าหากกระทำเช่นนั้นแล้วจะช่วยให้ฝนตก
ประเพณีปอยน้อย/บวชลูกแก้ว/แหล่ส่างลองเป็นประเพณีบวช หรือการบรรพชาของชาวเหนือ นิยมจัดภายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม หรือเมษายน ตอนช่วงเช้า ซึ่งเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จแล้ว ในพิธีบวชจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ มีการแห่งลูกแก้วหรือผู้บวชที่จะแต่งตัวอย่างสวยงามเลียนแบบเจ้าชายสิทธัตถะ เพราะถือคตินิยมว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกบวชจนตรัสรู้ และนิยมให้ลูกแก้วขี่ม้า ขี่ช้าง หรือขี่คอคน เปรียบเหมือนม้ากัณฐกะม้าทรงของเจ้าชายสิทธัตถะ ปัจจุบันประเพณีบวชลูกแก้วที่มีชื่อเสียง คือ ประเพณีบวชลูกแก้ว ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
วันที่ 14 เมษายน หรือวันเนา ตอนเช้าจะมีการจัดเตรียมอาหาร และเครื่องไทยทาน สำหรับงานบุญในวันรุ่งขึ้น ตอนบ่ายจะไปขนทรายจากแม่น้ำเพื่อนำไปก่อเจดีย์ทรายในวัด เป็นการทดแทนทรายที่เหยียบติดเท้าออกจากวัดตลอดทั้งปี
วันที่ 15 เมษายน หรือวันพญาวัน เป็นวันเริ่มศักราชใหม่ มีการทำบุญถวายขันข้าว ถวายตุง ไม้ค้ำโพธิ์ที่วัดสรงน้ำพระพุทธรูป พระธาตุและรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ
วันที่ 16-17 เมษายน หรือวันปากปีและวันปากเดือน เป็นวันทำพิธีทางไสยศาสตร์ สะเดาะเคราะห์ และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ ชาวล้านนามีความเชื่อว่า การทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตน เอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองให้ยืนยาว ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นสิริมงคล โดยแบ่งการสืบชะตาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การสืบชะตาคน, การสืบชะตาบ้าน และการสืบชะตาเมือง
แห่นางแมว ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม เป็นช่วงของการเพาะปลูก หากปีใดฝนแล้งไม่มีน้ำ จะทำให้นาข้าวเสียหาย ชาวบ้านจึงพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ทำพิธีขอฝนโดยการแห่นางแมว โดยมีความเชื่อกันว่าหากกระทำเช่นนั้นแล้วจะช่วยให้ฝนตก
ประเพณีปอยน้อย/บวชลูกแก้ว/แหล่ส่างลองเป็นประเพณีบวช หรือการบรรพชาของชาวเหนือ นิยมจัดภายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม หรือเมษายน ตอนช่วงเช้า ซึ่งเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จแล้ว ในพิธีบวชจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ มีการแห่งลูกแก้วหรือผู้บวชที่จะแต่งตัวอย่างสวยงามเลียนแบบเจ้าชายสิทธัตถะ เพราะถือคตินิยมว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกบวชจนตรัสรู้ และนิยมให้ลูกแก้วขี่ม้า ขี่ช้าง หรือขี่คอคน เปรียบเหมือนม้ากัณฐกะม้าทรงของเจ้าชายสิทธัตถะ ปัจจุบันประเพณีบวชลูกแก้วที่มีชื่อเสียง คือ ประเพณีบวชลูกแก้ว ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ประเพณีปอยหลวง หรืองานบุญปอยหลวง เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคม ถือว่าเป็นการให้ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม
ช่วงเวลาจัดงานเริ่มจากเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลา 3-7 วัน
ประเพณียี่เป็ง (วันเพ็ญเดือนยี่) หรืองานลอยกระทง โดยจะมีงาน "ตามผางผะติ้ป" (จุดประทีป) ซึ่งชาวภาคเหนือตอนล่างจะเรียกประเพณีนี้ว่า “พิธีจองเปรียง” หรือ “ลอยโขมด” เป็นงานที่ขึ้นชื่อที่จังหวัดสุโขทัย
ประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดวง ที่จังหวัดตาก ในเทศกาลเดียวกันด้วยในเดือน 3 หรือประมาณเดือนธันวาคม มีประเพณีตั้งธรรมหลวง (เทศน์มหาชาติ) และทอดผ้าป่า ในธันวาคมจะมีการเกี่ยว "ข้าวดอ" (คือข้าวสุกก่อนข้าวปี) พอถึงข้างแรมจึงจะมีการเกี่ยว "ข้าวปี"
ประเพณีลอยโคม ชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อย โคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้าย ๆ ต่าง ๆ ให้ไปพ้นจากตัว
ช่วงเวลาจัดงานเริ่มจากเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลา 3-7 วัน
ประเพณียี่เป็ง (วันเพ็ญเดือนยี่) หรืองานลอยกระทง โดยจะมีงาน "ตามผางผะติ้ป" (จุดประทีป) ซึ่งชาวภาคเหนือตอนล่างจะเรียกประเพณีนี้ว่า “พิธีจองเปรียง” หรือ “ลอยโขมด” เป็นงานที่ขึ้นชื่อที่จังหวัดสุโขทัย
ประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดวง ที่จังหวัดตาก ในเทศกาลเดียวกันด้วยในเดือน 3 หรือประมาณเดือนธันวาคม มีประเพณีตั้งธรรมหลวง (เทศน์มหาชาติ) และทอดผ้าป่า ในธันวาคมจะมีการเกี่ยว "ข้าวดอ" (คือข้าวสุกก่อนข้าวปี) พอถึงข้างแรมจึงจะมีการเกี่ยว "ข้าวปี"
ประเพณีลอยโคม ชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อย โคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้าย ๆ ต่าง ๆ ให้ไปพ้นจากตัว
ประเพณีตานตุง ในภาษาถิ่นล้านนา ตุง หมายถึง "ธง" จุดประสงค์ของการทำตุงในล้านนาก็คือ การทำถวายเป็นพุทธบูชา ชาวล้านนาถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้า ด้วยความเชื่อที่ว่า เมื่อตายไปแล้วก็จะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์พ้นจากขุมนรก วันที่ถวายตุงนั้นนิยมกระทำในวันพญาวันซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์
ประเพณีกรวยสลาก หรือตานก๋วยสลาก เป็นประเพณีของชาวพุทธที่มีการทำบุญให้ทานรับพรจากพระ จะทำให้เกิดสิริมงคลแก่ตนและอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นการระลึกถึงบุญคุณของผู้มีพระคุณ และเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีของคนในชุมชน
ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล บูชาเสาหลักเมืองเชียงใหม่
ประเพณีงานประเพณีนบพระเล่นเพลง ในแผ่นดินพระเจ้าลิไท วัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ เพื่อเป็นการเคารพสักการะเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ
ประเพณีลอยกระทงสาย เพื่อบูชาแม่คงคา ขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำและอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาท
ประเพณีแล้อุ๊ป๊ะดะก่า เป็นการเตรียมอาหารเพื่อนำไปถวาย (ทำบุญ) ข้าวพระพุทธในวันพระของชาวไทยใหญ่
ประเพณีทอดผ้าป่าแถว เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถวายเครื่องนุ่งห่มและไทยธรรม เป็นเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์ก่อนจะทำพิธีลอยกระทงบูชาพระพุทธบาทตามคติความเชื่อแต่โบราณ กระทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันลอยกระทง)
ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า ประมาณเดือนมิถุนายน (หรือปลายเดือนพฤษภาคม) เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประเพณีแข่งเรือยาว จังหวัดน่าน
ประเพณีเวียนเทียนกลางน้ำ วัดติโลกอาราม จังหวัดพะเยา
ประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง จังหวัดตาก
ประเพณีทานหลัวผิงไฟ คือ ประเพณีการถวายฟืนแก่พระสงฆ์เพื่อใช้จุดไฟในช่วงฤดูหนาว จะกระทำในเดือน 4 เหนือหรือตรงกับเดือนมกราคม
ประเพณีอู้สาว คำว่า “อู้” เป็นภาษาไทยภาคเหนือแปลว่า “พุดกัน คุยกัน สนทนากัน สนทนากัน” ดังนั้น “อู้สาว” ก็คือ พูดกับสาว คุยกับสาว หรือแอ่วสาวการอู้สาวเป็นการพดคุยกันเป็นทำนองหรือเป็นกวีโวหาร
นอกจากงานเทศกาลประจำท้องถิ่นแล้ว ยังมีประเพณีความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยเผ่าต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น ไทยยวน ไทยลื้อ ไทยใหญ่ ไทยพวน ลัวะ และพวกแมง ได้แก่ ประเพณีกินวอของชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ ประเพณีบุญกำฟ้าของชาวไทยพวนหรือไทยโข่ง
เพลงพื้นบ้านในภาคเหนือ
วัฒนธรรมเพลงพื้นบ้านท้องถิ่นในของภาคเหนือ เน้นความเพลงที่มีความสนุกสนาน สามารถใช้ร้องเล่นได้ทุกโอกาส ไม่จำกัดฤดู ไม่จำกัดเทศกาล ส่วนใหญ่นิยมใช้ร้องเพลงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ และการพักผ่อนหย่อนใจ โดยลักษณะการขับร้องและท่วงทำนองจะ อ่อนโยน ฟังดูเนิบนาบนุ่มนวล สอดคล้องเครื่องดนตรีหลัก ได้แก่ ปี่ ซึง สะล้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถจัดประเภทของเพลงพื้นบ้านของภาคเหนือได้ 4 ประเภท ดังนี้
ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล บูชาเสาหลักเมืองเชียงใหม่
ประเพณีงานประเพณีนบพระเล่นเพลง ในแผ่นดินพระเจ้าลิไท วัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ เพื่อเป็นการเคารพสักการะเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ
ประเพณีลอยกระทงสาย เพื่อบูชาแม่คงคา ขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำและอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาท
ประเพณีแล้อุ๊ป๊ะดะก่า เป็นการเตรียมอาหารเพื่อนำไปถวาย (ทำบุญ) ข้าวพระพุทธในวันพระของชาวไทยใหญ่
ประเพณีทอดผ้าป่าแถว เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถวายเครื่องนุ่งห่มและไทยธรรม เป็นเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์ก่อนจะทำพิธีลอยกระทงบูชาพระพุทธบาทตามคติความเชื่อแต่โบราณ กระทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันลอยกระทง)
ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า ประมาณเดือนมิถุนายน (หรือปลายเดือนพฤษภาคม) เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประเพณีแข่งเรือยาว จังหวัดน่าน
ประเพณีเวียนเทียนกลางน้ำ วัดติโลกอาราม จังหวัดพะเยา
ประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง จังหวัดตาก
ประเพณีทานหลัวผิงไฟ คือ ประเพณีการถวายฟืนแก่พระสงฆ์เพื่อใช้จุดไฟในช่วงฤดูหนาว จะกระทำในเดือน 4 เหนือหรือตรงกับเดือนมกราคม
ประเพณีอู้สาว คำว่า “อู้” เป็นภาษาไทยภาคเหนือแปลว่า “พุดกัน คุยกัน สนทนากัน สนทนากัน” ดังนั้น “อู้สาว” ก็คือ พูดกับสาว คุยกับสาว หรือแอ่วสาวการอู้สาวเป็นการพดคุยกันเป็นทำนองหรือเป็นกวีโวหาร
นอกจากงานเทศกาลประจำท้องถิ่นแล้ว ยังมีประเพณีความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยเผ่าต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น ไทยยวน ไทยลื้อ ไทยใหญ่ ไทยพวน ลัวะ และพวกแมง ได้แก่ ประเพณีกินวอของชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ ประเพณีบุญกำฟ้าของชาวไทยพวนหรือไทยโข่ง
เพลงพื้นบ้านในภาคเหนือ
เพลงซอ คือการร้องเพลงร้องโต้ตอบกันระหว่างชายหญิง เพื่อเกี้ยวพาราสีกัน โดยมีการบรรเลงปี่ สะล้อและซึง เคล้าคลอไปด้วย
เพลงค่าว ซึ่งเป็นบทขับร้องที่มีทำนองสูงต่ำ ไพเราะ
เพลงจ๊อย คล้ายการขับลำนำ โดยมีผู้ร้องหลายคน เป็นการนำบทประพันธ์ของภาคเหนือ นำมาขับร้องเป็นทำนองสั้น ๆ โดยเนื้อหาเป็นการระบายความในใจ แสดงอารมณ์ความรัก ความเงียบเหงา ทั้งนี้ มีผู้ขับร้องเพียงคน เดียว โดยจะใช้ดนตรีบรรเลงหรือไม่ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น จ๊อยให้กับคนรักรู้คนในใจ จ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อนฝูง และจ๊อยเพื่ออวยพรในโอกาสต่าง ๆ หรือจ๊อยอำลา
เพลงเด็ก มีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กของภาคอื่น ๆ คือ เพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็ก และเพลงที่เด็กใช้ร้องเล่นกันได้แก่ เพลงกล่อมลูก หรือเพลงฮื่อลูก และเพลงสิกจุ่ง-จา (สิก จุ่ง-จา หมายถึง เล่นชิงช้า) ซึ่งการสิกจุ่งจาเป็นการละเล่นของภาคเหนือ จะผู้เล่นมีกี่คนก็ได้ โดยชิงช้าทำด้วยเชือกเส้นเดียวสอดเข้าไปในรูกระบอกไม้ซาง แล้วผูกปลายเชือกทั้งสองไว้กับต้นไม้หรือใต้ถุนบ้าน
ส่วนวิธีเล่น คือ แกว่งชิงช้าไปมาให้สูงมาก ๆ บทร้องประกอบผู้เล่นจะร้องตามจังหวะที่ชิงช้าแกว่งไกวไปมา ดังนี้
"สิกจุ่งจา อีหล้าจุ่งจ๊อย ขึ้นดอยน้อย ขึ้นดอยหลวง เก็บผักขี้ขวง ใส่ซ้าทังลุ่ม เก็บฝักกุ่ม ใส่ซ้าทั้งสน เจ้านายตน มาปะคนหนึ่ง ตีตึ่งตึง หื้ออย่าสาวฟังควักขี้ดัง หื้ออย่าสาวจูบ แปงตูบน้อย หื้ออย่าสาวนอน ขี้ผองขอน หื้ออย่าสาวไหว้ ร้อยดอกไม้ หื้ออย่าสาวเหน็บ จักเข็บขบหู ปูหนีบข้าง ช้างไล่แทง แมงแกงขบเขี้ยว เงี้ยวไล่แทง ตกขุมแมงดิน ตีฆ้องโม่ง ๆ "
นอกจากนี้ มีเพลงกล่อมลูกที่ภาคเหนือใช้ในการกล่อมลูกหรือเด็ก จะขึ้นต้นด้วยคำว่า "สิกจุ้งจาโหน" แล้วยังมักจะขึ้นต้นด้วย คำว่า "อื่อจา" เป็นส่วนใหญ่ จึงเรียกเพลงกล่อมเด็กนี้ว่า เพลงอื่อลูกทำนองและลีลาอื่อลูกจะเป็นไป ช้า ๆ ด้วยน้ำเสียงทุ้มเย็นตามถ้อยคำที่คัดสรรมา เพื่อสั่งสอน และพรรณาถึงความรัก ความห่วงใยลูกน้อย กระทั่งคำขู่ คำปลอบ หากไม่ยอมนอนหลับ ซึ่งเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมต่าง ๆ ของ คนในภาคเหนือตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
นิทานพื้นบ้าน
นิทานของภาคของแต่ละภาคมักเต็มไปด้วยสาระ คติสอนใจ พร้อมความสนุกสนานเพลิดเพลิน อาจมีความแตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะสำคัญของภูมิภาค ส่วนนิทานพื้นบ้านจากภาคเหนือมักเป็นตำนานของสถานที่ต่าง ๆ หรือความเป็นมาและสาเหตุของสถานที่เหล่านั้นเล่าสืบต่อกันมาช้านาน เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และได้สาระที่เป็นคติสอนใจ อาทิ ความดี ความกตัญญู ความซื่อสัตย์ รวมถึงยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นภาคเหนืออีกด้วย
ยกตัวอย่างนิทานพื้นบ้านภาคเหนือ ได้แก่
เรื่อง ลานนางคอย จังหวัดแพร่
เรื่อง เมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
เรื่อง เซี่ยงเมี่ยงค่ำพญา
เรื่อง ปู๋เซ็ดค่ำลัวะ
เรื่อง ดนตรีธรรมชาติ
เรื่อง เชียงดาว
เรื่อง อ้ายก้องขี้จุ๊
เรื่อง ผาวิ่งชู้
เรื่อง ควายลุงคำ
เรื่อง ย่าผันคอเหนียง
สามารถอ่านนิทานข้างต้น ฉบับเต็มได้ ที่นี่
เครื่องดนตรีพื้นบ้าน
สะล้อ หรือทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลง ด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็น แหล่งกำเนิดเสียงทำ ด้วยกะลามะพร้าว
เพลงค่าว ซึ่งเป็นบทขับร้องที่มีทำนองสูงต่ำ ไพเราะ
เพลงจ๊อย คล้ายการขับลำนำ โดยมีผู้ร้องหลายคน เป็นการนำบทประพันธ์ของภาคเหนือ นำมาขับร้องเป็นทำนองสั้น ๆ โดยเนื้อหาเป็นการระบายความในใจ แสดงอารมณ์ความรัก ความเงียบเหงา ทั้งนี้ มีผู้ขับร้องเพียงคน เดียว โดยจะใช้ดนตรีบรรเลงหรือไม่ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น จ๊อยให้กับคนรักรู้คนในใจ จ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อนฝูง และจ๊อยเพื่ออวยพรในโอกาสต่าง ๆ หรือจ๊อยอำลา
เพลงเด็ก มีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กของภาคอื่น ๆ คือ เพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็ก และเพลงที่เด็กใช้ร้องเล่นกันได้แก่ เพลงกล่อมลูก หรือเพลงฮื่อลูก และเพลงสิกจุ่ง-จา (สิก จุ่ง-จา หมายถึง เล่นชิงช้า) ซึ่งการสิกจุ่งจาเป็นการละเล่นของภาคเหนือ จะผู้เล่นมีกี่คนก็ได้ โดยชิงช้าทำด้วยเชือกเส้นเดียวสอดเข้าไปในรูกระบอกไม้ซาง แล้วผูกปลายเชือกทั้งสองไว้กับต้นไม้หรือใต้ถุนบ้าน
ส่วนวิธีเล่น คือ แกว่งชิงช้าไปมาให้สูงมาก ๆ บทร้องประกอบผู้เล่นจะร้องตามจังหวะที่ชิงช้าแกว่งไกวไปมา ดังนี้
"สิกจุ่งจา อีหล้าจุ่งจ๊อย ขึ้นดอยน้อย ขึ้นดอยหลวง เก็บผักขี้ขวง ใส่ซ้าทังลุ่ม เก็บฝักกุ่ม ใส่ซ้าทั้งสน เจ้านายตน มาปะคนหนึ่ง ตีตึ่งตึง หื้ออย่าสาวฟังควักขี้ดัง หื้ออย่าสาวจูบ แปงตูบน้อย หื้ออย่าสาวนอน ขี้ผองขอน หื้ออย่าสาวไหว้ ร้อยดอกไม้ หื้ออย่าสาวเหน็บ จักเข็บขบหู ปูหนีบข้าง ช้างไล่แทง แมงแกงขบเขี้ยว เงี้ยวไล่แทง ตกขุมแมงดิน ตีฆ้องโม่ง ๆ "
นอกจากนี้ มีเพลงกล่อมลูกที่ภาคเหนือใช้ในการกล่อมลูกหรือเด็ก จะขึ้นต้นด้วยคำว่า "สิกจุ้งจาโหน" แล้วยังมักจะขึ้นต้นด้วย คำว่า "อื่อจา" เป็นส่วนใหญ่ จึงเรียกเพลงกล่อมเด็กนี้ว่า เพลงอื่อลูกทำนองและลีลาอื่อลูกจะเป็นไป ช้า ๆ ด้วยน้ำเสียงทุ้มเย็นตามถ้อยคำที่คัดสรรมา เพื่อสั่งสอน และพรรณาถึงความรัก ความห่วงใยลูกน้อย กระทั่งคำขู่ คำปลอบ หากไม่ยอมนอนหลับ ซึ่งเพลงกล่อมเด็กภาคเหนือสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมต่าง ๆ ของ คนในภาคเหนือตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
นิทานพื้นบ้าน
นิทานของภาคของแต่ละภาคมักเต็มไปด้วยสาระ คติสอนใจ พร้อมความสนุกสนานเพลิดเพลิน อาจมีความแตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะสำคัญของภูมิภาค ส่วนนิทานพื้นบ้านจากภาคเหนือมักเป็นตำนานของสถานที่ต่าง ๆ หรือความเป็นมาและสาเหตุของสถานที่เหล่านั้นเล่าสืบต่อกันมาช้านาน เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และได้สาระที่เป็นคติสอนใจ อาทิ ความดี ความกตัญญู ความซื่อสัตย์ รวมถึงยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นภาคเหนืออีกด้วย
ยกตัวอย่างนิทานพื้นบ้านภาคเหนือ ได้แก่
เรื่อง ลานนางคอย จังหวัดแพร่
เรื่อง เมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
เรื่อง เซี่ยงเมี่ยงค่ำพญา
เรื่อง ปู๋เซ็ดค่ำลัวะ
เรื่อง ดนตรีธรรมชาติ
เรื่อง เชียงดาว
เรื่อง อ้ายก้องขี้จุ๊
เรื่อง ผาวิ่งชู้
เรื่อง ควายลุงคำ
เรื่อง ย่าผันคอเหนียง
สามารถอ่านนิทานข้างต้น ฉบับเต็มได้ ที่นี่
เครื่องดนตรีพื้นบ้าน
สะล้อ หรือทะล้อ เป็นเครื่องสายบรรเลง ด้วยการสี ใช้คัน ชักอิสระ ตัวสะล้อที่เป็น แหล่งกำเนิดเสียงทำ ด้วยกะลามะพร้าว
ซึง เป็นเครื่องสายชนิดหนึ่ง ใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง
ขลุ่ย มีลักษณะเช่นเดียวกับขลุ่ยของภาคกลาง
ปี่ เป็นปี่ลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทำด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง
ปี่แน มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภท ลิ้นคู่ทำด้วยไม้ พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ หรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว
ปี่ เป็นปี่ลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นทำด้วย โลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง
ปี่แน มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภท ลิ้นคู่ทำด้วยไม้ พิณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ หรือบางทีก็เรียกว่า เพียะ หรือเปี๊ยะ กะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว
กลองเต่งถิ้ง เป็นกลองสองหน้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือไม้ เนื้ออ่อน
ตะหลดปด หรือมะหลดปด เป็นกลองสองหน้า ขนาดยาวประมาณ 100 เซนติเมตร
กลองตึ่งโนง เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด 3-4 เมตร
กลองสะบัดชัยโบราณ เดิมใช้ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ซึ่งปัจจุบันพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีกลองด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม
การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ
โอกาสที่แสดงนิยม โชว์ในงานพระราชพิธี หรือวันสำคัญทางศาสนา ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง งานมงคล และงานรื่นเริงทั่วไป ในที่นี้จะแสดงตามความเหมาะสมตามสถานการณ์ ได้แก่ ฟ้อนภูไท ฟ้อนเทียน, ฟ้อนเล็บ หรือฟ้อนเมือง, ฟ้อนดาบ, ฟ้อนเงี้ยว, ฟ้อนลาวแพน, ฟ้อนรัก, ฟ้อนดวงเดือน, ฟ้อนดวงดอกไม้, ฟ้อนมาลัย, ฟ้อนไต , ฟ้อนโยคีถวายไฟ, ระบำชาวเขา, รำลาวกระทบไม้, รำกลองสะบัดชัย
โอกาสที่แสดงนิยม โชว์ในงานพระราชพิธี หรือวันสำคัญทางศาสนา ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง งานมงคล และงานรื่นเริงทั่วไป ในที่นี้จะแสดงตามความเหมาะสมตามสถานการณ์ ได้แก่ ฟ้อนภูไท ฟ้อนเทียน, ฟ้อนเล็บ หรือฟ้อนเมือง, ฟ้อนดาบ, ฟ้อนเงี้ยว, ฟ้อนลาวแพน, ฟ้อนรัก, ฟ้อนดวงเดือน, ฟ้อนดวงดอกไม้, ฟ้อนมาลัย, ฟ้อนไต , ฟ้อนโยคีถวายไฟ, ระบำชาวเขา, รำลาวกระทบไม้, รำกลองสะบัดชัย
จะเห็นได้ว่า ภาคเหนือของประเทศไทยนั้นประกอบด้วยผู้ที่คนหลากหลายชาติพันธุ์ จึงทำให้มีภาษาถิ่นที่แตกต่างกัน แต่มีสิ่งที่คล้ายคลึงกัน คือ ความเคารพบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ก่อให้เกิดรากเหง้าขนบธรรมเนียม ประเพณี พิธีกรรม มาถึงปัจจุบัน ซึ่งชาวเหนือจะมีประเพณีที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบ่งสรรตามฤดูกาล แม้แตกต่างกันกลับมีสายใยแห่งชุมชนร้อยรัดผู้คนให้แน่นแฟ้นถือเป็นเสน่ห์ชวนให้ผู้คนหลงรัก "ดินแดนล้านนา"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)